รายงานแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

ชื่อหน่วยงาน : ปราจีนบุรี
ปี ตัวชี้วัด จปฐ. ตัวชี้วัด กชช. 2ค จำนวนที่สำรวจ (คน/ครัวเรือน) จำนวนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ (คน/ครัวเรือน) ร้อยละ วัน เวลา และสถานที่ดำเนินการ กิจกรรมที่ดำเนินการ ผลการดำเนินงาน หมายเหตุ
2562 113,750 5,655 ครัวเรือน 4.97 1. ประชาสัมพันธ์ในคราวประชุมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ประจำเดือน 2. สอดแทรกความรู้การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และเพิ่มการออมในการดำเนินกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เช่น โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โครงการจัดตั้งและกลุ่มอาชีพ ฯลฯ 3. สอดแทรกความรู้การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และเพิ่มการออมในการดำเนินกิจกรรมตามงบพัฒนาจังหวัด/งบกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เช่น โครงการยกระดับรายได้ครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ. ปี 2560(482 ครัวเรือน) โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้าน สปน.จังหวัดปราจีนบุรี 4. ประชาสัมพันธ์ในคราวประชุมอื่น ๆ เช่น การเยี่ยมเยียนประชาชนยามเย็น การประชุมกรรมการหมู่บ้าน พบนักเรียนหน้าเสาธง 5 นาที เป็นต้น จากข้อมูล จปฐ. ปี 2561 ของจังหวัดปราจีนบุรี ในตัวชี้วัดที่ 23 ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 113,469 ครัวเรือน มีครัวเรือนไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 13,545 ครัวเรือน จังหวัดปราจีนบุรีจึงได้จัดทำโครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ. ปี 2561 ข้อ 23 โดยการส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมเพิ่มขึ้น และกำหนดเป้าหมายส่งเสริมให้ประชาชนมีการเก็บออมเงินเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 ของจำนวนครัวเรือนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ (1,355 ครัวเรือน) โดยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้นำความรู้เรื่องการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และเพิ่มการออม ไปประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์กรมฯ/จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ทำให้ในปี 2562 ผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปี 2562 ตัวชี้วัดที่ 23 มีครัวเรือนไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 5,655 ครัวเรือน จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 113,750 ครัวเรือน แสดงว่า ครัวเรือนมีการออมเพิ่มขึ้น จำนวน 7,890 ครัวเรือน มากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 1,355 ครัวเรือน คือ 6,535 ครัวเรือน ซึ่งส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ครอบครัวอบอุ่น เนื่องจากได้นำข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2561 ไปใช้ประโยชน์ โดยนำไปแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองและครอบครัวด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และมีการออมเงินเพิ่มขึ้น)